บทความนี้จึงขออธิบายให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมือใหม่ได้เข้าใจถึง "Mobile Internet", "Wi-Fi", "3G" ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างมากและถือเป็นเรื่องที่ควรรู้อย่างยิ่ง
Mobile Internet
เรารู้กันดีว่า "Internet" หรืออินเทอร์เน็ตในภาษาไทยคือการเชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือโน็ตบุ๊ค เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ผู้ใช้สามารถท่องเว็บไซต์, ดูคลิปบน Youtube, เล่น Facebook, Chat ผ่านโปรแกรมสนทนาได้อย่างสะดวก ซึ่งสำหรับอุปกรณ์คอมนั้นต้องใช้สาย LAN (Local Area Network) หรือไม่ก็ผ่านเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) โดยภายในอุปกรณ์คอมนั้นต้องมีอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณเช่น LAN Card, Wireless Card มาทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้กับอุปกรณ์คอม
เมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นที่นิยม จึงมีผู้ริเริ่มพัฒนาโทรศัพท์มือถือที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ในตัว ซึ่งคำว่า "Mobile Internet" ก็เลยหมายถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่นั่นเอง
ในสมัยที่ WAP ยังเป็นที่นิยมนั้น มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ ถูกกำหนดขึ้น มามากมายไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service อย่าสับสนกับคำว่า GPS นะครับไม่เหมือนกัน), EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ทั้งหมดที่เอ่ยถึงนั้นยังอยู่ในยุคก่อนจะมี 3G ทั้งสิ้น และในปัจจุบันก็ยังเปิดให้บริการอยู่บนอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานซิมการ์ดเช่น ฟีเจอร์โฟน, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต (ที่มีซิมการ์ด) โดยจะคิดค่าบริการตามเงื่อนไขที่ทางผู้ให้บริการเครือข่ายได้กำหนดไว้
Wi-Fi
เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีอีกอันหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นและนำมาใช้งานกัน อย่างแพร่หลายบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ก็คือ "Wi-Fi" (Wireless-Fidelity) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คล้ายกับ EDGE/GPRS เพียงแต่ว่าจะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่า และรูปแบบการใช้งานนั้นก็คล้ายกับการเชื่อมต่อ Wireless LAN ของอุปกรณ์คอมหรือโน๊ตบุ๊คนั่นเอง
เทคโนโลยี Wi-Fi ก็มีการพัฒนามาตรฐานของตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน โดยเราจะสังเกตได้จากตัวเลขบอกมาตรฐานของ Wi-Fi เช่น IEEE 802.11b, 802.11a, 802.11g, 802.11e, 802.11i, 802.11n ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งาน Wi-Fi ด้วยความเร็วที่มากขึ้น, ไกลขึ้น, สัญญาณ Wi-Fi สม่ำเสมอมากขึ้น, ความปลอดภัยข้อมูลเยอะขึ้นนั่นเอง
การสังเกตว่าอุปกรณ์มือถือ-อุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณรองรับ Wi-Fi หรือไม่ สามารถดูได้จากข้อใดข้อหนึ่งด้านล่าง
- ข้อมูลสเปคเครื่อง จะระบุไว้ว่ารองรับ Wi-Fi
- มีเมนู Wi-Fi อยู่ภายในอุปกรณ์มือถือ/แท็บเล็ต
- มีสัญลักษณ์/ ไอคอน Wi-Fi กำกับอยู่
- สอบถามผู้ผลิต-ผู้ขาย
***อุปกรณ์บางชิ้น (น้อยมากๆ) อาจจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อใช้รับ-ส่งสัญญาณ Wi-Fi เนื่องจากไม่มีตัวรับ-ส่งสัญญาณ Wi-Fi ภายในตัว
การเปิดใช้งาน Wi-Fi บนอุปกรณ์มือถือ/แท็บเล็ตนั้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะมีวิธีการเปิดใช้งานแตกต่างกัน เช่น แตะไอคอน Wi-Fi เพื่อเปิดใช้ หรือไปที่ Menu การเชื่อมต่อเพื่อเปิดใช้งาน Wi-Fi เป็นต้น
การใช้งาน Wi-Fi นั้นเริ่มแรกนิยมใช้ภายในบ้าน, ออฟฟิต หรือร้านอาหาร, ร้านกาแฟ ซึ่งเมื่อเปิดใช้งาน Wi-Fi บนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือได้ แล้ว ระบบจะทำการค้นหา "สัญญาณ Wi-Fi" ที่เดินทางมาถึงอุปกรณ์เครื่องนั้น และให้ผู้ใช้เป็นคนเลือกว่าจะใช้งาน เครือข่าย Wi-Fi อันไหน ซึ่งอาจจะมีรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งาน (หรืออาจจะไม่มี ขึ้นอยู่กับเครือข่าย Wi-Fi นั้นตั้งค่าไว้อย่างไร)
เมื่อเข้าใช้งาน Wi-Fi ได้ ก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกับอุปกรณ์คอมฯ และสามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นบางอย่างที่ต้องใช้บริการอินเทอร์เน็ตถึงจะใช้ งานได้ เช่น Facebook, Twitter, Whatsapp, LINE MSN, Google+, เบราว์เซอร์
3G
เมื่อ มี Wi-Fi แล้วจะมี 3G ไปทำไม? ก็เพราะว่า Wi-Fi นั้นเป็นการเชื่อมต่อในระยะไม่ไกลนัก เมื่อเราต้องเดินทางในระยะไกลเป็นกิโลเมตร สัญญาณ Wi-Fi จะส่งไปไม่ถึง และถ้าจะให้สัญญาณ Wi-Fi ครอบคลุมทุกจุด ต้องตั้งเสาสัญญาณ Wi-Fi อีกเยอะมากซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นเทคโนโลยี 3G จึงได้เข้ามาแทนที่ โดย 3G จะมีรัศมีในการส่งสัญญาณเป็นระยะทางในหลักกิโลเมตร โดยมีความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณน้อยกว่า Wi-Fi แต่ก็มากกว่า EDGE/GPRS
การสังเกตว่าอุปกรณ์มือถือ/แท็บเล็ตหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณรองรับ 3G หรือไม่ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้
- รองรับการใช้งานซิมการ์ด
- มีช่อง/ถาดใส่ซิมในตัว
- รองรับการใช้งานข้อมูลเครือข่าย (package data)
*** บางรุ่นอาจจะต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อให้ใช้งานซิมการ์ดได้ (ไม่มีช่องใส่ซิมการ์ดในตัว)
การ เปิดใช้งาน 3G (package data) นั้นมีค่าใช้จ่าย โดยผู้ให้บริการจะเรียกเก็บโดยอ้างอิงจากหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้บนซิมการ์ด มีค่าบริการและแพคเกจราคาที่แตกต่างกัน (โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากผู้ให้บริการเครือข่ายโดยตรง) โดยผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละเจ้าในประเทศไทยนั้นใช้คลื่นความถี่ 3G ที่แตกต่างกัน จึงต้องดูรายละเอียดสเปคเครื่องให้แน่ชัดว่ารองรับ 3G ที่ึความถี่ใดบ้าง (850, 900, 1800, 1900, 2100MHz)
การใช้งาน 3G บนมือถือ-แท็บเล็ตผ่านซิมการ์ดนั้นใช้ซิมแบบธรรมดาทั่วไป แต่จะมีซิมการ์ดบางอันเป็นแบบ Net SIM (Internet SIM) ซึ่งอาจจะมีหมายเลขโทรศัพท์หรือไม่มีก็ได้ โดย Net SIM ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือหรือผ่าน AirCard โดยเฉพาะ และ Net SIM บางอันก็ใช้โทรศัพท์ได้ บางอันก็ใช้เล่นอินเทอร์เน็ตได้อย่างเดียวเท่านั้น
วิธีเปิดใช้งาน 3G บนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต นั้นคล้ายกับการเปิดใช้งาน Wi-Fi แต่ต่างกันที่ไม่ต้องใส่รหัสผ่าน โดยผู้ใช้ต้องเข้าไปที่เมนูการจัดการเครือข่ายและการเชื่อมต่อ และทำการเปิดใช้งานเครือข่ายมือถือ 3G (Package data)
เมื่อเข้าใช้งาน 3G ได้ ก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi แต่ต่างกันตรงที่ 3G มีการคิดค่าบริการและมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมมากกว่านั่นเอง และถ้าตั้งค่าเครือข่ายอัตโนมัติไว้บนมือถือ-แท็บเล็ต เมื่อเล่นอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ที่มีสัญญาณ 3G อ่อนมากๆ ระบบค้นหาสัญญาณในโทรศัพท์มือถือ-แท็บเล็ตก็จะนำเทคโนโลยี EDGE/GPRS มาใช้เล่นอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ
สรุปสั้นๆ คือ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตส่วน ใหญ่มักจะถูกติดตั้งตัวรับสัญญาณ Wi-Fi มาให้ในตัว เพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายอย่างสะดวก แต่การเลือกใช้เครือข่าย Wi-Fi (ที่บ้าน, ที่ทำงาน, ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ) นั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใช้ที่ต้องเข้าไปตั้งค่าและใส่รหัสผ่าน
ส่วนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตทีั่ รองรับสัญญาณ 3G ได้นั้นจะต้องสามารถใส่ซิมการ์ดเพื่อเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการเครือข่าย และเรียกใช้งานบริการข้อมูล 3G (package data) ซึ่งโดยทั่วไปมือถือ-แท็บเล็ตที่ รองรับ 3G จะมีราคาตัวเครื่องสูงกว่าแบบรองรับ Wi-Fi เพียงอย่างเดียว เนื่องจากรุ่น 3G จะมีทั้งตัวรับสัญญาณ 3G และตัวรับสัญญาณ Wi-Fi ติดตั้งอยู่ในเครื่อง
การเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน 3G มีค่าใช้จ่าย (ขึ้นอยู่กับแพคเกจที่ผู้ใช้เลือกจากผู้ให้บริการเครือข่าย) มือถือ-แท็บเล็ตบาง เครื่องก็รองรับ 3G ทุกเครือข่าย บางเครื่องก็รองรับเฉพาะบางเครือข่าย ผู้ใช้ควรศึกษาสเปคของเครื่องและสอบถามผู้ขายอีกครั้งหนึ่งเพื่อความแน่ใจ
ที่มา: http://news.siamphone.com/news-08768.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น